ตอนที่ 5 ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย

ตอนที่ 5 ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย


ตอนที่ 5 ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย

สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
ตอนที่ 5 ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย


Content

16.102 -> ตอนที่ 5 ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย (5)
20.579 -> 4. ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย
24.351 -> ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources)
27.697 -> หมายถึง สิ่งที่ได้มาจากธรรมชาติ
29.897 -> ซึ่งมีประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
32.347 -> โดยเฉพาะเป็นปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต
35.759 -> ที่มนุษย์สามารถเสาะแสวงหามาใช้
38.893 -> เช่น พืช สัตว์ แร่ธาตุ ป่าไม้ ถ่านหิน และน้ำมัน เป็นต้น
43.357 -> ประเทศไทยนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งดิน
47.275 -> น้ำ ป่าไม้ และแร่ ซึ่งมีกระจายอยู่คามภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้
51.912 -> 1) ทรัพยากรดิน
53.805 -> ดินในประเทศไทยที่ปรากฏในภูมิภาคต่าง ๆ จำแนกได้ ดังนี้
58.242 -> ดินเหนียวเป็นดินเนื้อละเอียดเหมาะสำหรับปลูกข้าวและผลไม้บางชนิด
62.68 -> พบได้ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
67.397 -> ดินร่วนเป็นดินที่มีความร่วนซุยเหมาะสำหรับปลูกพืชผัก
70.622 -> ผลไม้หลายชนิด พบได้ในบริเวณที่ดอนที่เนิน
73.933 -> ดินทรายเป็นดินที่มัความหยาบไม่เกาะตัวกัน
77.251 -> เหมาะสำหรับปลูกพืชบางชนิดที่ต้องการน้ำน้อย
80.943 -> พบได้ในบริเวณเชิงเขาและชายฝั่งทะเล
83.542 -> ดินอินทรีย์เป็นดินที่ประกอบด้วยซากพืช
86.647 -> ซากสัตว์ที่ย่อยสลายมีความเป็นกรดสูง
89.366 -> เหมาะสมสำหรับปลูกพืชบางชนิด
91.419 -> พบได้ในบริเวณป่าชายเลนและป่าพรุ
93.912 -> 2) ทรัพยากรน้ำ
95.912 -> น้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
98.764 -> ถึงแม้ว่าประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม
102.056 -> และมีปริมาณฝนเฉลี่ยสูง
103.976 -> แต่เนื่องจากประเทศไทยมีฝนตกประมาณ 6 เดือนในช่วงฤดูฝน
108.2 -> จากนั้นปริมาณฝนจะน้อยลงหรือไม่มีฝนตกเลยยกเว้นในภาคใต้
112.184 -> จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดการทรัพยากรน้ำให้เพียงพอ
115.769 -> กับความต้องการใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภค
118.848 -> การชลประทานจึงมีการสร้างเขื่อน การสร้างฝายชะลอน้ำอยู่ทั่วประเทศ
123.658 -> เขื่อนสำคัญ เช่น เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
127.416 -> เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
130.295 -> เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
133.48 -> เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
137.317 -> 3) ทรัพยากรป่าไม้
139.517 -> ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค
143.529 -> ซึ่งลักษณะของป่าไม้แตกต่างกันไปตามลักษณะทางกายภาพ
147.154 -> ของภูมิภาคนั้น ๆ ป่าไม้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
151.778 -> ป่าไม้ผลัดใบ เป็นป่าที่ในช่วงฤดูฝนจะมีความเขียวชอุ่ม
156 -> แต่เมื่อถึงฤดูแล้ง ต้นไม้จะผลัดใบเกือบหมดต้นหรือหมดต้น
161.011 -> เพื่อลดการคายน้ำในช่วงฤดูแล้ง
163.091 -> หรือช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน เช่น
166.996 -> บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
170.101 -> ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก
172.261 -> ป่าไม้ผลัดใบ ประกอบด้วยป่า 2 ชนิด ดังนี้
175.513 -> ป่าเบญจพรรณ มีกระจายอยู่ทั่วไปทุกภูมิภาคของประเทศ
179.484 -> ในพื้นที่ดินปนทราย มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง
183.615 -> ไม้ที่พบ เช่น สัก แดง ประดู่ มะค่าโมงตะแบก พยุง ชิงชัน ไผ่ไร่ ไผ่บง
189.65 -> ป่าเต็งรัง มีกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ (ยกเว้นภาคใต้)
195.073 -> ในพื้นที่ราบภูเขา พื้นที่แห้งแล้งเป็นดินร่วนปนทราย กรวด ลูกรัง
200.11 -> ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ไม้พื้นล่างจะเป็นหญ้าต่างๆ
204.494 -> ไม้ที่พบ เช่น พลวง เหียง เต็ง รังแสมสาร ก่อ ปรง
209.85 -> ป่าไม้ไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีความเขียวชอุ่มตลอดทั้งปี
214.594 -> ต้นไม้ไม่ผลัดใบ พบได้บริเวณพื้นที่ที่มีความชื้นสูง
219.804 -> ได้รับปริมาณน้ำฝนมาก
222.426 -> ป่าไม้ผลัดใบประกอบด้วยป่าสำคัญ ดังนี้
226.264 -> ป่าดิบชื้น เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปีมีพันธุ์ไม้หลายร้อยชนิด
231.127 -> ขึ้นเบียดเสียดกันอยู่มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแต่ความสูง
234.898 -> 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล
237.151 -> ไม้ที่สำคัญก็คือ ไม้ตระกูลยางต่าง ๆ เช่น ยางนา
241.721 -> ยางเสียน
243.548 -> ส่วนไม้ชั้นรอง คือ พวกไม้กอ เช่น กอน้ำ กอเดือย
248.052 -> ป่าดิบแล้ง เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบมีความชุ่มชื้นน้อย เช่น
252.836 -> ในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
255.475 -> มักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร
259.353 -> ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะคาโมง ยางนา พยอม ตะเคียนแดง
263.71 -> กระเบากลัก และตาเสือ
265.47 -> ป่าดิบเขา ป่าชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่สูง ๆ
268.429 -> หรือบนภูเขาตั้งแต่ 1,000-1,200 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล
274.052 -> ไม้ส่วนมากเป็นพวก Gymonosperm ได้แก่
276.904 -> พวกไม้ขุนและสนสามพันปี
279.836 -> นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอขึ้นอยู่
283.08 -> พวกไม้ชั้นที่สองรองลงมา ได้แก่ เป้ง สะเดาช้าง และขมิ้นต้น
287.757 -> ป่าสนเขา ป่าสนเขามักปรากฎอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่
292.7 -> เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 200-1800 เมตร
297.404 -> ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลในภาคเหนือ
299.724 -> ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
303 -> บางทีอาจปรากฎในพื้นที่สูง 200-300 เมตร
306.958 -> จากระดับน้ำทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้
309.997 -> ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง
312.877 -> ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบและสนสามใบ
319.459 -> ส่วนไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นอยู่ด้วย ได้แก่ พันธุ์ไม้ป่าดิบเขา เช่น
323.79 -> กอชนิดต่าง ๆ หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด
327.428 -> คือ เต็ง รัง เหียง พลวง เป็นต้น
330.374 -> ป่าชายเลน บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็ม” หรือป่าเลน
335.637 -> มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ
340.341 -> ป่าชนิดนี้ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเล
343.419 -> หรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ
345.739 -> ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงในพื้นที่ภาคใต้มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน
351.708 -> ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัดแต่ที่มากที่สุดคือ
355.479 -> บริเวณปากน้ำเวฬุ อำเภอลุง จังหวัดจันทบุรี
360 -> พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน
363 -> ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่าน
366.598 -> และทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง ประสัก ถั่วขาว ถั่วขำ
372.713 -> โปรง ตะบูน แสมทะเล ลำพูนและลำแพน ฯลฯ
377.31 -> ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวกปรงทะเลเหงือกปลายหม
380.788 -> ปอทะเล และเป้ง เป็นต้น
382.788 -> ป่าพรุ หรือป่าบึงน้ำจืด ป่าชนิดนี้มักปรากฎในบริเวณที่มีน้ำจืด
388.735 -> ท่วมมาก ๆ ดินระบายน้ำไม่ดีป่าพรุในภาคกลาง
392.2 -> มีลักษณะโปร่งและมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ
395.398 -> เช่น ครอเทียน สนุ่น จิก โมกบ้าน หวายน้ำ
398.477 -> หวายโปร่ง ระกำ อ้อ และแขม
400.96 -> ในภาคใต้ป่าพรุมีขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปี
404.904 -> ดินป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดอยู่ในบริเวณจังหวัดนราธิวาสดินเป็นพีท
410.181 -> ซึ่งเป็นซากพืชผุสลายทับถมกันเป็นเวลานาน
414.512 -> ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุ ได้แก่ อินทนิล น้ำหว้า จิก โสกน้ำ
420 -> กระทุ่มน้ำภันเกรา โงงงันกะทั่งหัน
422.826 -> ไม้พื้นล่างประกอบด้วย
424.56 -> หวาย ตะค้าทอง หมากแดง และหมากชนิดอื่น ๆ
429.12 -> ป่าชายหาด เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายทะเล
434.517 -> น้ำไม่ท่วมตามฝั่งดินและชายเขาริมทะเล
438.182 -> ต้นไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเล ต้องเป็นพืชทนเค็ม
442.206 -> และมักมีลักษณะไม้เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอ ใบหนาแข็ง
446.763 -> ได้แก่ สนทะเล หูกวาง โพธิ์ทะเล กระทิง ตีนเป็ดทะเล หยีน้ำ
452.106 -> มักมีต้นเตยและหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง
456 -> ตามฝั่งดินและชายเขา มักพบไม้เกตลำบิด มะคาแต้ กระบองเพชร
460.837 -> เสมา และไม้หนามชนิดต่าง ๆ เช่น
463.689 -> ซิงซี่ หนามหัน กำจาย มะดันขอ เป็นต้น
467.62 -> 4) ทรัพยากรแร่ แร่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
472.537 -> พบได้ตามผิวเปลือกโลก
474.164 -> ประเทศไทยมีทรัพยากรแร่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค
477.456 -> แร่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
480.413 -> แร่โลหะ หมายถึง ธาตุซึ่งมีสมบัติสำคัญ คือ
484.051 -> เป็นตัวนำไฟฟ้าและความร้อนที่ดี มีขีดหลอมเหลวสูง
488.342 -> ขัดให้เป็นเงาได้ ตีแผ่ให้เป็นแผ่นหรือดึงให้เป็นเส้นลวดได้
492.739 -> เมื่อนำมาเคาะมีเสียงดังกังวาน เช่น ทอง ทองแดง เหล็ก ทังสเตน
496.95 -> ดีบุก มงกานีส ประโยชน์ของแรโลหะ เช่น
499.936 -> ทำเครื่องประดับ ใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
504.76 -> ใช้ทำเครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ
507.373 -> แร่อโลหะ หมายถึง ธาตุซึ่งมีสมบัติไม่เป็นโลหะ
510.878 -> คือไม่นำไฟฟ้า มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ
514.49 -> มีสถานะเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส เช่น
518.474 -> ฟอสเฟต ฟลูออไรต้ หินปูน โพแทช หินอ่อน ดินขาว เกลือหิน
524.416 -> ประโยชน์ของแร่อโลหะ เช่น ใช้ทำปุ๋ย
528.094 -> อาหารสัตว์ทำปูนซีเมนต์ ใช้ในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
532.385 -> อุตสาหกรรมเซรามิก ฟอกหนัง อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม
536.6 -> แร่เชื้อเพลิงและพลังงาน เกิดจากการทับถมของซากสิ่งมีชีวิต
541.117 -> มีสมบัติติดไฟได้ง่าย เมื่อถึงจุดไหม้จะให้ความร้อนและพลังงาน
545.408 -> นำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานของเครื่องจักรต่างๆ ได้
548.48 -> เช่นถ่านหิน ปิโตรเลียม แก๊สธรรมชาติ
552.251 -> ประโยชน์ของแร่เชื้อเพลิงและพลังงาน เช่น
555.223 -> ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
558.209 -> ใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์
560.889 -> ใช้เป็นเชื้อเพลิง

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=c4AoT1TaOhI