
5 วิธีตรวจสอบข่าวปลอม Fake News | DGTH
5 วิธีตรวจสอบข่าวปลอม Fake News | DGTH
ข่าวปลอม Fake News มีอยู่มากมายบนโลกออนไลน์ รายการดิจิทัลไทยแลนด์ มี 5 วิธีตรวจสอบข่าวปลอมง่ายๆว่าข่าวไหนจริง ข่าวไหนปลอม จะได้ไม่หลงเชื่อ หลงแชร์ข่าวปลอม เกิดความเสียหายต่อตนเองและต่อผู้อื่นและสังคมนะคะ
เช็กข่าวปลอม ตรวจสอบข่าวปลอม
ตรวจสอบข่าวปลอมเฟสบุ๊ค
ตรวจสอบข่าวปลอมไลน์
ตรวจสอบข่าวปลอมบนเว็บไซต์
ออกอากาศวันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563
รายการ Digital Thailand ออกอากาศ ทุกเช้าวันเสาร์ ทางช่อง 3 กด 33 เวลา 4.40 น.
ติดตามรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
facebook.com/it24hrs
twitter.com/panraphee
twitter.com/it24hrs
IG: panraphee
ติดต่อโฆษณา [email protected]
Content
0.44 -> ปลอม ปลอม ปลอม ปลอมมมมมม
3.2 -> ข่าวปลอม ข้อมูลปลอมๆ เพียยบบบบทางโซเชียล
6.32 -> อ้าวววว แล้วจะเช็กยังไงล่ะ
7.74 -> อันไหนจริง อันไหนปลอม
15.76 -> สวัสดีค่ะ
16.44 -> พบกันใน ดิจิทัลไทยแลนด์ กับ เอิ้น ปานระพี
18.6 -> มาอัปเดตให้รู้ทันยุคดิจิทัล
21.1 -> เพราะเราทุกคนอยู่ในยุคดิจิทัลกันแล้วนะคะ
23.64 -> รู้ก่อน เข้าใจก่อน ได้เปรียบ
25.76 -> ไม่พลาดพลั้ง ไม่เสียโอกาสค่ะ
28.36 -> ในทุกวันนี้เราก็จะเจอกับข่าวปลอม
31.12 -> เรื่องปลอมๆกันมากมายบน Social Network
33.94 -> เปิด Facebook Twitter เปิด Line ก็เจอข่าวปลอม
37.36 -> หรือแม้แต่เว็บไซต์นะคะ
39.34 -> บางทีก็มีจริงส่วนนึง ที่เหลือก็แต่งเรื่องต่อให้บิดเบือนไป
43.6 -> แบบนี้ก็เนียนๆหลายคนก็หลงเชื่อ
45.56 -> หรือบางทีก็สร้างเรื่องใหม่เป็นเรื่องไม่จริงทั้งหมดก็มีค่ะ
49.9 -> ถ้าหลงเชื่อไป ซ้ำร้ายยังไปแชร์ต่อ
52.58 -> ก็สร้างความเสียหายกันมานักต่อนักแล้วนะคะ
55.26 -> แล้วคุณผู้ชมล่ะคะ
56.6 -> เคยเจอข่าวปลอมเรื่องไม่จริงกันทางโซเชียลหรือเปล่า
59.36 -> แล้วถ้าเจอคุณผู้ชมจะทำยังไง
97.28 -> เอาล่ะ
98.54 -> เชื่อว่าไม่มีใครอยากจะหลงเป็นเหยื่อของข่าวปลอม
101.22 -> ข้อมูลปลอม หรือว่าเรื่องที่บิดเบือน
103.4 -> หรือ Fake News ใช่ไหมคะ
104.86 -> วันนี้เรามี 5 วิธีตรวจสอบข่าวปลอม
108.1 -> ทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเองแบบนี้
113.12 -> วิธีที่ 1
115.16 -> ตรวจสอบจากปุ่ม About This Content
117.08 -> บน Facebook ค่ะ
118.4 -> วิธีแรกนี้ง่ายๆมากๆเลยนะคะ
120.44 -> ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ทันสังเกต
122.08 -> เวลาที่เราได้รับการแชร์ลิงค์มา
124.64 -> จะมีปุ่มนี้ค่ะ
125.68 -> ปุ่ม ตัว i
127.18 -> พอกดเข้าไปแล้วเนี่ย
128.56 -> ก็จะบอกเลยว่า
129.56 -> ลิงค์ดังกล่าวนี้มาจากเว็บไซต์อะไร
131.98 -> เราก็ดูไปนะคะว่านี่มาจากเว็บไซต์อะไร
134.28 -> ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าเป็นสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ
137.72 -> มักจะมีอายุของเว็บไซด์ที่ค่อนข้างจะยาวนานนะคะ
140.78 -> และก็จะมีประวัติต่างๆ ให้เราสามารถดูได้ค่ะ
143.82 -> และถ้าเว็บไซด์นั้นๆมีข้อมูลอยู่ใน Wikipedia
146.32 -> ก็จะโชว์ขึ้นมาด้วยนะคะ
147.42 -> เอาล่ะ มาลองตรวจสอบกัน
149.42 -> ก่อนคลิกข่าว
150.64 -> ให้กดดูที่ปุ่ม i
152.14 -> ซึ่งเป็นปุ่ม About This Article
154.28 -> กดเข้าไปก็จะเห็นข้อมูล “เกี่ยวกับเว็บไซต์นี้”
157 -> อย่างอันนี้เป็นข่าวที่มาจากเว็บไซต์ it24hrs.com
161.88 -> ซึ่งได้ลงทะเบียนไว้มากกว่า 5 ปีที่ผ่านมานะ
164.74 -> ซึ่งเป็นข้อมูลจาก WHOIS
166.78 -> WHOIS ก็คือบริการตรวจสอบเจ้าของโดเมนนะครับ
170.14 -> ส่วนเลื่อนลงมาก็จะเห็น “เพิ่มเติมจากเว็บไซต์นี้”
173.42 -> เช่น ข่าวอื่นๆที่เว็บไซต์ it24hrs ที่เคยเผยแพร่เอาไว้
177.84 -> แบบนี้ดูแล้วไว้วางใจได้
180.16 -> วิธีนี้ก็จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
183.38 -> ก่อนที่จะกดเข้าไปดู และกดแชร์ข่าวๆนี้ออกไปนะครับ
204.54 -> วิธีที่ 2
206.18 -> คราวนี้อาศัย Google
207.98 -> นำ Keyword หรือว่าคำที่มีอยู่ในข่าวนั้นๆ
210.1 -> ไปลองค้นเพิ่มเติมใน Google ดูค่ะ
212.4 -> เมื่อเราได้เห็น หรือรับข่าวที่แชร์มา
214.96 -> ลองนำ Keyword ที่เกี่ยวกับข่าวนั้น
217.12 -> หรือ Copy ข้อความในข่าวนั้น ไปค้นหาใน Google ดูอีกทีค่ะ
220.36 -> แล้วก็ดูว่า นอกจากแหล่งข่าวที่เราได้รับแชร์มา
223.92 -> ยังมีแหล่งข่าวอื่นที่เขียนถึงข่าวนั้นๆอีกหรือไม่
226.94 -> และเขาเขียนว่าอย่างไร
228.44 -> มีสำนักข่าวที่เชื่อถือได้เขียนถึงข่าวนั้นๆ ด้วยหรือเปล่า
231.36 -> แล้วที่เขียนน่ะ
232.48 -> ตรงกับที่เราได้รับแชร์มาหรือไม่
234.84 -> ถ้าคนส่วนใหญ่ที่เขียนถึงเรื่องเดียวกันนั้น
236.74 -> เขียนไม่ตรงกับสิ่งที่เราได้รับแชร์มา
239.08 -> อาจจะลองสันนิษฐานดูก่อนนะคะ
241.18 -> ว่าสิ่งที่เราได้รับแชร์มานั้น
243.04 -> อาจจะเป็นข่าวปลอมก็ได้ค่ะ
245.24 -> ระวังกันให้ดี
247.18 -> วิธีที่ 3
249.52 -> ตรวจสอบ url ของแหล่งข่าวนั้นๆว่าสะกดถูกต้องหรือไม่
253.38 -> เพราะบ่อยครั้งเรามักจะบอกว่า
255.5 -> ถ้าจะเลือกเชื่อก็ให้เชื่อจากสำนักข่าวทางการใช่ไหมคะ
258.56 -> ซึ่งเราก็มักจะดูจาก url ที่แชร์มานี่ล่ะค่ะ
262.08 -> แต่ก็มีคนก็หัวใส
263.96 -> ทำ url ให้คล้ายๆกันกับสำนักข่าวที่เชื่อถือได้
267.58 -> มีทั้งแบบเติมหน้าเติมหลังเข้าไป
269.9 -> หรือว่าสะกดให้คล้ายๆกัน ดูเผินๆแล้วก็คิดว่าใช่
273.66 -> แบบนี้ต้องเช็กให้ดี
276.14 -> ตัวอย่างที่ผ่านมาก็มีอย่างเช่น
277.84 -> การทำ URL เว็บไซต์เลียนแบบเว็บไซต์ข่าวชื่อดัง อย่างเช่น
281.66 -> ไทยรัฐ และ มติชน นะคะ
283.24 -> ซึ่งก็จะมีวิธีการทำที่แตกต่างกันไป
285.42 -> แบบแรกค่ะ
286.64 -> ใช้วิธีเติมหน้าเติมหลัง อย่างเช่น
288.74 -> เว็บไซต์ปลอมที่เลียนแบบเว็บไซต์ของข่าวไทยรัฐ
291.04 -> ก็จะใช้ชื่อที่มีคำว่า thairath อยู่ด้วย
293.12 -> แต่มีการเพิ่มชื่อเข้าไปแบบนี้ค่ะ
300.92 -> โอ้ว ดูแล้วไม่น่าจะใช่นะคะ
303.22 -> แต่ว่าถ้ามองเผินๆอาจจะเข้าใจผิดว่า
305.64 -> เป็นข่าวจากเว็บไซต์ของไทยรัฐจริงๆก็ได้
308 -> ซึ่งของจริงเป็นเพียงแค่ thairath.co.th ค่ะ
311.3 -> ส่วนอีกแบบนึง
312.46 -> เป็นแบบสะกดคล้ายๆ
314.34 -> บิดไปนิดๆหน่อยๆ พอดูมึนๆ
316.9 -> อย่างเว็บไซต์ปลอมที่เลียนแบบเว็บไซต์ของมติชน
319.34 -> ก็จะใช้วิธีการเติมตัวอักษร r เข้าไปในชื่อ
321.86 -> เพื่อให้กลมกลืนกับเว็บไซต์ของจริงแบบนี้ค่ะ
327.42 -> อันนี้ของปลอมนะคะ
328.84 -> ถ้าเป็นของจริงเขาสะกดแบบนี้
333.48 -> เห็นไหมคะ
335.48 -> ถ้าดูผ่านๆ ไม่ตั้งใจเช็คตัวสะกดกันจริงๆ
337.04 -> ก็จะหลงเชื่อว่าใช่ล่ะค่ะ
338.82 -> เพราะเนียนเลย
343.52 -> ถ้าเช่นน้ัน
344.42 -> ดูตัวสะกดของ URL กันให้ดีๆด้วยนะคะ
347.02 -> ซึ่งการทำ URL ให้คล้ายของจริงแบบนี้
349.56 -> ก็เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ธนาคารเพื่อหลอกขโมยพาสเวิร์ด
352.06 -> ของผู้ที่หลงเชื่อกันอยู่เป็นประจำ
353.82 -> วิธีการป้องกันเลยก็คือ
355.38 -> สังเกต URL ให้ดีๆเลยค่ะ
357.46 -> ว่าสะกดถูกต้องหรือไม่
359.16 -> ก่อนที่จะหลงเชื่อข่าวปลอม
360.66 -> กลายเป็นเหยื่อของความหลอกลวง แล้วก็ส่งต่อๆกันไป
363.34 -> จนสร้างความเสียหายให้กับคนในสังคมได้
366.62 -> วิธีที่ 4
368.5 -> ตรวสอบภาพข่าวด้วย image.google.com
371.66 -> ในกรณีที่เป็นรูปภาพ
373.56 -> บ่อยครั้งเรามักจะพบว่าเป็นรูปเก่าเล่าใหม่
376.58 -> มีการเอารูปเหตุการณ์เมื่อหลายๆปีมาแล้ว
378.8 -> มาแชร์กันใหม่ แล้วก็บอกว่าเป็นเหตุการณ์ล่าสุด
381.38 -> จนทำให้คนเกิดความสับสนวุ่นวาย
383.52 -> และก็ตื่นตระหนกกันค่ะ
385.14 -> ดังนั้น
385.94 -> ก็ให้ลองนำภาพที่ได้รับมา ไปตรวจสอบดูซะหน่อยนะคะ
388.8 -> เข้าไปที่เว็บ image.google.com
391.52 -> แล้วก็กดที่รูปกล้องถ่ายรูปค่ะ
393.7 -> แล้วก็กด upload รูปภาพที่เราได้มา
396.66 -> แล้ว google จะทำการตรวจสอบภาพที่เหมือนกันกับที่เราค้นหา
400.68 -> ว่ามีปรากฏรูปดังกล่าวบนเว็บไซต์ไหนบ้าง
403.82 -> เมื่อผลการค้นหาออกมาก็ลองเข้าไปดูเลยนะคะ
406.44 -> ว่ารูปที่เราได้มาเป็นรูปสมัยไหน
409.42 -> มีข้อมูลบอกเกี่ยวกับรูปภาพนั้นบอกไว้ว่าอย่างไร
412.06 -> ตรงกันกับสิ่งที่เราได้รับมาหรือเปล่าค่ะ
414.34 -> แบบนี้
415.28 -> ถ้าเป็นรูปเก่าเล่าใหม่
416.7 -> เราก็จะเห็นภาพเดียวกันนี้ในข่าวเก่าๆ
419.36 -> ก็เริ่มสันนิษฐานได้แล้วว่า
421.54 -> สงสัยจะเอาของเก่ามาใช้ใหม่แล้วแต่งเรื่องต่อเติมค่ะ
424.7 -> แต่ต้องบอกก่อนนะคะ
426.1 -> ว่าผลการค้นหาของ Google แบบนี้
427.94 -> ก็ยังไม่ใช่เครื่องยืนยันความถูกต้องแบบเป๊ะๆนะคะ
430.7 -> ก็ขอให้ดูข้อมูลแวดล้อมเพิ่มเติมอื่นๆประกอบด้วยค่ะ
434.12 -> วิธีที่ 5
435.78 -> ตรวจสอบจากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
437.74 -> โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
440.02 -> ในเมืองไทย
440.96 -> เดี๋ยวนี้มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
442.48 -> หรือ Anti-Fake News Center
444.36 -> โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมนะคะ
446.64 -> ซึ่งก็จะมีคณะกรรมการประสานงาน
448.52 -> และแก้ไขปัญหาข่าวปลอมที่กระทบต่อความปลอดภัย
451.06 -> ในชีวิตและทรัพย์สินประชาชน
452.92 -> มีคณะผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการ
455.3 -> สื่อมวลชนทำหน้าที่วางแผนกำกับการดำเนินงาน
458.24 -> และแผนการเผยแพร่ตามขั้นตอนการพิจารณาข่าวปลอมค่ะ
461.72 -> มีการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารออนไลน์
463.9 -> ข่าวที่เป็นกระแสโลกโซเชียลอย่างรู้เท่าทันด้วย
466.78 -> สมมติว่า
467.68 -> เราเจอข่าวปลอม
468.96 -> หรือข่าวที่เราอยากจะให้ช่วยเช็ก
470.8 -> หรืออยากจะเช็คว่าข่าวที่ได้มาเป็นข่าวจริงหรือข่าวปลอม
474.02 -> ก็ไปได้หลายช่องทางค่ะ
475.84 -> อย่างแรกแรกไปที่เว็บไซต์
477.22 -> www.antifakenewscenter.com
479.22 -> วิธีที่สอง
480.14 -> ทางไลน์ค่ะ
481.2 -> ก็แอดเป็นเพื่อนกันก่อนนะคะ
482.86 -> ลองค้นไลน์ Officecial ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมกันดูค่ะ
485.78 -> วิธีที่สาม
487.08 -> เฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center
489.48 -> และวิธีที่สี่
490.8 -> ทวิตเตอร์ @AFNCThailand นะคะ
496.96 -> สมมติเราได้รับข้อมูลที่แชร์กันมา
499.1 -> อยากจะทราบว่าจริงหรือหลอกก็ลองเข้าไปที่
501.5 -> www.antifakenewscenter.com
504.24 -> เราก็จะเห็นข้อมูลข่าวจริงและข่าวปลอมอยู่มากมายค่ะ
506.94 -> โดยทุกข้อมูลจะมีข้อมูลที่มาที่ไปของแหล่งข่าวนั้นๆ
510.32 -> กลัวเผลอแชร์ข่าวปลอมก็ลองมาเช็กกันดูก่อนนะคะ
513.12 -> แล้วทำยังไง
514.32 -> ลองให้คุณโอมเช็คดูค่ะ
516.02 -> โอ้ว มาเจอข่าวนี้กันอีกแล้ว
518.44 -> ไหนมาเช็คดูซิ เค้าบอกว่า
520.84 -> ประเทศไทยมี 83 จังหวัด!
523.14 -> เอาล่ะ
523.86 -> ต้องลองเช็กดูหน่อยซะแล้ว
525.46 -> ในเว็บไซต์ Anti-Fake News Center
527.58 -> นี่ไงล่ะ ว่าแล้วต้องเป็นข่าวปลอม!
530.18 -> ข้อมูลข่าวดังกล่าวนี้ไม่เป็นความจริงเลย
532.5 -> แถมยังเป็นการแชร์ภาพข่าวที่เคยแชร์มาแล้ว
535.14 -> ที่เป็นข่าวปลอมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 แล้วนะ!
538.26 -> อ่ะ ไหนลองดูอีกข่าวนึงซิ
540.38 -> ข่าว ธ.ก.ส. รับขึ้นเงินรางวัลลอตเตอรี่
543.42 -> ค่าธรรมเนียมถูกกว่าร้านรับซื้อ 1-1.5%
547.28 -> โอ้โห จริงหรือนี่!?
549.12 -> ไหนลองมาเช็กกันดูหน่อยซิ
550.66 -> ข่าวจริงแฮะ
552.24 -> โอ๊ะ ดีย์อ่ะ
553.78 -> และนี่ก็คือ
554.92 -> 5 วิธีตรวจสอบข่าวปลอมที่นำมาฝากกันนะคะ
557.82 -> ก็ลองนำไปใช้ดู
558.98 -> แต่ขอแถมอีกหนึ่งวิธี
560.58 -> เพราะเดี๋ยวนี้ข้อมูลสุขภาพที่แชร์กันในโซเชียล
563.22 -> มีมากมายเหลือเกิน
564.76 -> และขัอมูลสุขภาพเนี่ยะ
566.38 -> ถ้าเป็นข้อมูลที่ไม่จริงไปทำตาม
569.04 -> เป็นอันตรายถึงกับชีวิตได้เลยนะคะ
585.5 -> ฉะนั้นเรื่องของสุขภาพ
587.22 -> เช็กโดยตรงที่นี่เลยค่ะ
588.94 -> องค์การอาหารและยา หรือ อย.
591 -> เขาทำเว็บไซต์ sure.oryor.com
593.72 -> เอาไว้ให้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพแบบนี้ล่ะค่ะ
596.68 -> เข้าไปแล้วก็พิมพ์ที่ช่อง "ค้นหา"
598.6 -> เช่น สงสัยว่า
599.7 -> เปลือกไข่บดช่วยรักษาโรคกระดูกพรุนได้
601.78 -> ก็พิมพ์ไปเลยนะคะ
602.88 -> อาจจะพิมพ์ว่า "เปลือกไข่บด"
604.58 -> นี่ไงคะคำตอบว่า
606.3 -> เปลือกไข่บดละเอียดกินแก้โรคกระดูกพรุนได้หรือไม่
609.7 -> อย. ตอบชัดๆเลยว่าไม่จริง!!
612.74 -> มีภาพ มีข้อความ มีสัญลักษณ์บอกกันชัดเจนกันไปเลยค่ะ
616.12 -> ว่าไม่จริงหรือจริงค่ะ
618.12 -> ซึ่งก็จะมีข้อมูล แหล่งที่มา
619.94 -> พร้อมภาพอินโฟกราฟฟิคอธิบายไว้อย่างเรียบร้อย
622.8 -> ถือว่าข้อมูลเล่านี้เชื่อถือได้ค่ะ
625.72 -> ลองยกอีกสักตัวอย่างนึงนะคะ
627.6 -> เป็นข้อมูลที่ชาวโซเชียลเชื่อและก็แชร์กันมา
630.7 -> เช็คกันสิว่าจริงหรือไม่
632.66 -> ที่เขาบอกว่า
633.78 -> สเปรย์พ่นปากฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาได้
636.34 -> จริงหรือไม่
637.44 -> ตรวจสอบแล้วข่าวนี้
639.64 -> อย. ตอบชัดว่า "ไม่จริง" นะคะ
642.28 -> ถ้าใครอยากจะรู้
643.32 -> อยากจะเช็กเรื่องราวสุขภาพ
644.98 -> ว่าเรื่องจริงหรือเรื่องหลอก
646.18 -> ก็เข้าไปเช็กได้ที่เว็บไซต์นี้เลยนะครับ
664.72 -> และสุดท้าย
665.92 -> ไม่ว่าจะเป็นข่าวจริงหรือข่าวปลอม
667.92 -> ก่อนที่เราจะตัดสินใจเชื่อ
669.52 -> ก็ต้องใช้วิจารณญาณกันให้ดีๆกันด้วยนะคะ
672.56 -> ยิ่งถ้าเป็นประเภทจริงส่วนนึง
674.28 -> แล้วที่เหลือก็แต่มาให้บิดเบือน
676.44 -> อ้นนี้ยิ่งต้องระมัดระวังเลยนะคะ
678.3 -> ลองใช้วิธีที่เราแนะนำกันไป
680.48 -> ตรวจสอบได้ในเบื้องต้นค่ะ
682.28 -> เพราะว่าการที่เชื่อและก็แชร์ข่าวปลอมนั้น
685.2 -> สร้างความเสียหายให้กับตัวเอง
687.04 -> เราอาจจะกลายเป็นคนที่ขาดความน่าเชื่อถือไปเลยก็ได้
690.22 -> และก็ยังสร้างความเสียหายให้กับสังคมได้อย่างคาดไม่ถึงนะคะ
693.9 -> ยิ่งถ้าเป็นเรื่องภัยพิบัติ
695.38 -> ก็จะเกิดการตื่นตระหนก
697.04 -> หรือถ้าเป็นความรู้ที่เป็นเรื่องไม่จริง
699.14 -> หากใครไปทำตามจะเป็นอันตรายถึงกับชีวิตได้เลยนะคะ
702.64 -> หรือการกล่าวอ้างถึงบุคคลอื่น
704.56 -> ก็อาจจะทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหายได้
707.12 -> และที่สำคัญ
708.4 -> การแชร์ข่าวเท็จหรือทำให้มีคนเสียหาย
711.46 -> ยังเสี่ยงต่อการผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
714.06 -> มีโทษทั้งปรับและอาจจะถูกจำคุกได้เลยนะคะ
717.16 -> ระวังให้ดี
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=p-PtKBqXKZI